THE ARTICLE

 สรุปบทความ



ความสุขของเด็กปฐมวัย

พฤติกรรมความสุข (Happiness Behavior)

หมายถึง การแสดงออกที่สะท้อนถึงความสุขของเด็กปฐมวัย ขณะดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งสังเกตได้จากพฤติกรรมและการใช้ถ้อยคำของเด็กที่การปฏิบัติตนที่สะท้อนให้เห็นว่าเด็กมีความสุข เช่น ยิ้มแย้มแจ่มใส กระตือรือร้น อยากร่วมกิจกรรม มีอารมณ์ขัน ปฏิบัติตามข้อตกลงด้วยความเต็มใจ มีสมาธิ ทำงานร่วมกับผู้อื่น สนทนาโต้ตอบแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้วยความพอใจ เป็นต้น


ความสุข หมายถึง ความรู้สึกที่ดี อันเกิดจากกระบวนการที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม อันเป็นผลมาจาก การได้รับประสบการณ์ต่าง ๆ และความสุขที่แท้จริง ของชีวิตเกิดจาก 3 ประการ ดังนี้


1. ความสุขจากธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม เด็กได้สัมผัสกับ ดิน น้ำ อากาศ สัตว์ ป่าไม้ ต้นไม้ ดอกไม้

2. ความสุขจากเพื่อนมนุษย์ เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน ผู้ใหญ่ โดยเฉพาะคนในครอบครัว ที่สร้างความรัก ความอบอุ่น ความปลอดภัย

3. ความสุขจากกิจกรรมในชีวิต การเรียนจากทางโรงเรียน ครอบครัว และชุมชน

 

ความสำคัญของความสุขในเด็กปฐมวัย

           เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่จัดอยู่ในช่วงมีความอยากรู้อยากเห็น จะเริ่มลองทำสิ่งต่างๆตามที่ตนเองคิด เริ่มมีการพัฒนาด้านความคิดสร้างสรรค์ เด็กในวัยนี้จะเลียนแบบพฤติกรรมของสมาชิกในครอบครัว เมื่อเด็กเห็นพฤติกรรมดังกล่าวซ้ำๆ      ในสภาพแวดล้อมเดิมๆ เด็กจะเริ่มลอกเลียนแบบพฤติกรรมทางสังคม ดังนั้นการให้ความรักเอาใจใส่และอยู่ใกล้ชิด แนะนำ ช่วยเหลือเด็ก จะเป็นวิธีการที่ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการเด็กให้เป็นไปตามที่  พึงประสงค์ได้

เด็กวัยนี้เป็นช่วงที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วจากประสบการณ์การเรียนรู้ต่างๆ ที่เด็กได้รับ ประสบการณ์เหล่านี้จะฝังอยู่ใน โครงสร้างพื้นฐานของสมองของเด็กซึ่งมีกระบวนการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วง 2-3 ขวบปีแรก เครือข่ายใยประสาทจะถูกสร้างขึ้น 700 เครือข่ายต่อวินาที


ความสุขของเด็กปฐมวัยเชื่อมโยงกับพัฒนาการด้านต่างๆโดยเฉพาะพัฒนาการด้านอารมณ์ ของเด็กซึ่งมีผลต่อความสามารถในการปรับตัวเมื่อเด็กเข้าเรียน การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่นเมื่อเด็กเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ได้แก่ การสร้าง ถนอมมิตรภาพ ความผูกพันใกล้ชิด การเป็นพ่อแม่ที่สามารถเลี้ยงดูลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความสามารถในการทำงานได้ดีและอดทนกับผู้อื่น และเป็นสมาชิกที่ก่อประโยชน์ให้กับชุมชนของตน


การจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ ในขณะที่เด็กปฐมวัยกำลังพัฒนา จึงมีความสำคัญในการทำให้เด็กมีความสุข สอดคล้องกับกระบวนการพัฒนาของสมองที่จะเป็นแบบให้และได้รับกลับคืนมา (serve and return) ของความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดู เริ่มตั้งแต่วัยทารกโดยเด็กจะส่งเสียงหรือแสดงออกทางสีหน้า ท่าทาง พ่อ แม่ ผู้เลี้ยงดูก็จะอุ้ม กอด สัมผัส ส่งเสียงหรือแสดงท่าทางย้อนกลับ ให้นมเมื่อเด็กรู้สึกหิวหรือคอยดูแลเมื่อเด็กรู้สึกเปียกหรือไม่สบายตัว เมื่อเด็กโตขึ้นก็มีการจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อเอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก มีเวลาคุณภาพในการอ่านหนังสือ เล่านิทาน และเล่นกับเด็ก การตอบสนองเหล่านี้จะสร้างความผูกพันทางอารมณ์ระหว่างเด็กและผู้เลี้ยงดู ทำให้เด็กมีความเชื่อมั่นในตนเอง รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า รู้จักไว้วางใจผู้อื่น สามารถควบคุมอารมณ์ได้และสนใจเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัวได้ดี ถ้าไม่มีการตอบสนองหรือมีแต่ไม่สม่ำเสมอหรือไม่เหมาะสม โครงสร้างสมองของเด็กก็จะไม่ได้รับการพัฒนาอย่างที่ควรจะเป็นและส่งผลต่อ อารมณ์ พฤติกรรม พัฒนาการด้านสติปัญญาและการเรียนรู้ของเด็กต่อไป


ธรรมชาติ/การแสดงออกของความสุขในเด็กปฐมวัย


เด็กปฐมวัยที่มีความสุขจะแสดงออกถึงความพึงพอใจ อบอุ่นใจในสิ่งต่างๆที่เขาได้รับ มีใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส รู้สึก สนุกสนานร่าเริงกับกิจกรรมต่างๆที่เด็กได้ทำหรือมีส่วนร่วม นอกจากนี้เด็กจะรู้จักอารมณ์ของตนเองว่าเป็นอย่างไรและสามารถควบคุมอารมณ์ ของตนเองได้ เข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เป็นเด็กที่ยอมรับกฎเกณฑ์ กติกา จากการฝึกและเรียนรู้ในเรื่องระเบียบวินัย มีความมุ่งมั่น มานะ อดทนต่อการทำงาน ปรับตัวต่อปัญหาต่างๆได้ มองโลกในแง่ดีและกล้าแสดงออก


ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความสุข

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2545ก : 4 – 30) ได้นำเสนอทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความสุขว่า การสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความสุข เพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนมี 6 ประการ คือ

1. สร้างความรักและศรัทธาต่อการเรียนเป็นสิ่งจำเป็นมาก เพราะจะช่วยให้นักเรียนเกิด

ความรัก ความสนใจต่อบทเรียน ต่อครู และผู้ร่วมเรียน การสร้างศรัทธาจะเกิดขึ้นได้ โดยการสร้างความ

เข้าใจที่ตรงกัน ครูต้องเข้าใจนักเรียน ครูต้องเข้าใจตนเอง รู้บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ รู้สภาพ


ของตัวเอง ครูต้องเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ มีบทเรียนที่สนุกและเพลิดเพลิน การส่งเสริมความสนใจ

และสร้างความผูกพัน

2. เห็นคุณค่าจากการเรียนรู้ การเรียนของเด็กจะประสบความสำเร็จ เมื่อเขาเห็นคุณค่า

ของการเรียนรู้ว่าเรียนไปทำไม เรียนไปเพื่ออะไร เรียนแล้วได้อะไร เรียนแล้วจะเป็นอะไร เด็กจะเห็นว่า

บทเรียนแต่ละบทมีคุณค่าก็ต่อเมื่อสิ่งที่เขาเรียนนั้นเป็นประโยชน์ และมีความหมายต่อตัวเอง

3. เปิดประตูสู่ธรรมชาติ การเรียนแต่เฉพาะในห้องเรียนบางครั้งอาจจะรู้สึกคับแคบและ

อึดอัดทั้งครูและเด็กจะรู้สึกสดชื่น และมีชีวิตชีวาขึ้นหากได้มีการออกไปนอกห้องเรียน เด็กนั้นตาม


ธรรมชาติของเขาเป็นนักค้นคว้า และชอบเสาะแสวงหาคำตอบเกี่ยวกับโลกรอบตัว เด็กจะอ่านสรรพสิ่ง

ต่าง ๆ รอบตัวด้วยความรู้สึกและด้วยจิตสัมผัส

4. ความมุ่งมาดและมั่นคง การรู้จักตัวเอง รู้จุดดี จุดด้อยของตน ยอมรับสภาวะแห่งตน

ไม่ดูถูกตนเอง ไม่โทษคนรอบข้าง ใจกว้าง และพร้อมจะปรับปรุงแก้ไขรู้จักระงับอารมณ์ มั่นใจและตั้งใจ

จริง ย่อมจะนำความสำเร็จในชีวิตมาให้แก่ตนซึ่งจะนำไปสู่ความภูมิใจ เห็นคุณค่าตนเองและไม่คิดว่า

ชีวิตของตนเองเป็นสิ่งไร้ค่า

5. ดำรงรักษ์ไมตรีจิต เมื่อเด็กโตขึ้นมา สังคมของเขา ย่อมขยายวงจากบ้านในครอบครัว

ไปสู่โรงเรียนและสังคมที่กว้างขึ้น เขาเริ่มต้องการเพื่อน เริ่มการอยู่ร่วมกันเป็นหมู่เป็นกลุ่ม เป็นพวกไม่

ชอบอยู่โดดเดี่ยว ครูมีส่วนช่วยให้เด็กได้เรียนรู้วิธีการรักษาไมตรีจิตมิตรภาพต่อเพื่อนด้วยการจัด

กิจกรรมที่เด็กมีส่วนร่วม

6. ชีวิตที่สมดุล การรักษาสมดุลของชีวิต ก็คือ การปรับตนเองให้อยู่ในความพอเหมาะ

พอดี รู้ขีดจำกัดของความปรารถนาส่วนตน มีการประพฤติปฏิบัติที่งดงาม ครูควรเปิดโอกาสให้เด็กได้รู้

และเข้าใจธรรมชาติของชีวิตและความเป็นไปในโลก ขณะเดียวกันก็ช่วยให้เขารู้จักตัวเอง รู้ความสามารถ

รู้จุดอ่อนของตัวเอง รู้จักปรับตัว และรู้วิธีแก้ปัญหาได้อย่างชาญฉลาด


วิธีการสร้างสุขให้เด็กปฐมวัย

การสร้างความสุขให้กับเด็กปฐมวัยนั้น นอกจากการให้เด็กได้นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอและ อบรมสั่งสอน ให้การดูแลที่เหมาะสมแล้วพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูยังสามารถทำได้โดย


ดูแลให้เด็กได้รับสารอาหารครบถ้วนและมีประโยชน์

สัมผัส กอดและพูดคุยกับเด็กด้วยความรักและความเอาใจใส่

จัดประสบการณ์ สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสเรียนรู้ในด้านต่างๆตามช่วงวัย

โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า เช่น การอ่านหนังสือ เล่านิทานกับเด็ก ทำกิจกรรมศิลปะ เล่นดนตรี เล่นกลางแจ้งหรือเล่นกีฬาเพื่อให้เด็กได้ออกกำลัง เคลื่อนไหวร่างกาย เป็นต้น

ลดหรือไม่สร้างความเครียดให้กับเด็ก เช่น การเลี้ยงดูอย่างเข้มงวด บังคับให้ทำในสิ่งที่เด็กไม่ชอบ ดุว่า ลงโทษอย่างรุนแรง ทำให้เด็กรู้สึกกลัว วิตกกังวล และไม่มีความสุข

ประโยชน์ของการส่งเสริมพฤติกรรมความสุต่อเด็กปฐมวัย

เมื่อเด็กมีความสุขในการเรียนรู้จะทำให้เด็กเรียนรู้ที่จะดำรงชีวิตอย่าง มีความสุข สำหรับการจัดกิจกรรมส่งเสริมพฤติกรรมความสุขในเด็กปฐมวัยนั้น จะมีคุณค่าและประโยชน์ต่อเด็กในด้านต่างๆดังนี้

ช่วยให้เด็กมีความภาคภูมิใจในตนเอง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพฤติกรรมความสุข จะช่วยให้เด็กเรียนรู้ถึงคุณค่าแห่งตน เรียนรู้ว่าตนเองเป็นคนมีความสำคัญ มีส่วนในการสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ อื่นและสังคม ทำให้รู้สึกว่ามีคุณค่าในการดำเนินชีวิต นำไปสู่การสร้างความรู้สึกที่ดีและมีความภาคภูมิใจในตน เอง

ช่วยให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียน ไม่มีความตึงเครียด เด็กรู้สึกว่าสิ่งที่เรียนน่าสนใจ น่าเรียนรู้ การมีปฏิสัมพันธ์ที่ราบรื่นระหว่างครูกับเด็กจนเกิดการยอมรับซึ่งกันและกัน จะเป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ของเด็ก และยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียนและมีผล สัมฤทธิ์ที่ดีขึ้น

ช่วยให้เด็กสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆได้ดี เด็กที่มีความสุขในการเรียนจะรู้สึกผ่อนคลาย ไม่มีความกังวล รู้สึกปลอดภัย สามารถคิดและแก้ปัญหาต่างๆได้ดี ทำให้สามารถจัดการกับปัญหาและปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆได้ดีด้วย

ช่วยส่งเสริมให้เด็กมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น การ แสดงออกซึ่งพฤติกรรมของการมีความสุข ความรู้สึกร่าเริงแจ่มใส มองโลกในแง่ดี ทำให้เด็กรู้สึกผ่อนคลาย มีความอ่อนโยนในจิตใจ จึงทำให้สามารถแสดงพฤติกรรมในเชิงบวกต่อบุคคลรอบข้างซึ่งเป็นการสร้างมนุษย์ สัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่น

ช่วยให้เด็กรับรู้อารมณ์ของตนเองและสามารถควบคุมอารมณ์ของตนได้อย่างเหมาะสม การจัดกิจกรรมส่งเสริมพฤติกรรมความสุข เป็นการจัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กแสดงพฤติกรรมที่พึงประสงค์ เรียนรู้คุณค่าของตนเอง ไม่กระทำสิ่งใดที่เป็นพฤติกรรมด้านลบ เรียนรู้ที่จะจัดการอารมณ์ของตนเองอย่างเหมาะสม ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องได้ รับการฝึกฝน ดังนั้นถ้ามีสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียดหรือกระตุ้นอารมณ์ในด้านลบ เด็กที่มีพฤติกรรมความสุขจะสามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้อย่างเหมาะสมและ สอดคล้องกับความเป็นจริง

ช่วยให้เด็กมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ เด็กที่มีพฤติกรรมความสุขจะประพฤติปฏิบัติสิ่งต่างๆที่เป็นประโยชน์และสร้าง สรรค์ ลดพฤติกรรมที่เป็นปัญหา เช่น พฤติกรรมก้าวร้าว พฤติกรรมที่ผิดกฎกติกาและข้อตกลงต่างๆของสังคม จึงทำให้การอยู่ร่วมกันมีความสุขมากขึ้น

ส่งเสริมให้เด็กมีคุณธรรม จริยธรรมและมีจิตใจที่ดีงาม พฤติกรรมที่แสดงออกด้วยคำพูดและการปฏิบัติในสิ่งที่ดี ก็ถือเป็นพฤติกรรมความสุขด้วย เช่น การมีคุณธรรมจริยธรรมที่ดี ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การช่วยเหลือให้กำลังใจ การมีเมตตากรุณาต่อสัตว์เลี้ยงต่างๆ ก็เป็นพฤติกรรมความสุขเช่นเดียวกัน

อ้างอิง

นพวรรณ ศรีวงค์พานิช. ความสุขของเด็กปฐมวัย ร่วมกันสร้างสุข ลดทุกข์ พัฒนาเด็กทุกวัย เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดี. http://www.rajanukul.go.th/new/index.php?mode=maincontent&group=225&id

นิติธร ปิลวาสน์. พฤติกรรมความสุข (Happiness Behavior). http://taamkru.com/th/.

ศรีวิไล เชาวน์ปรีชา.  2550.  การศึกษาพฤติกรรมความสุขของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมคุณค่าเพื่อชีวิต.

กรุงเทพ ฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Name : Chalita Phoophanab Nickname : Praew Identification number : 6011201644 Bechelor's degree : Early Childhood, Faculty of Education,...