RECORDING DIARY 1

บันทึกการเรียนครั้งที่ 1


วันที่ 17 สิงหาคม 2563



บันทึกการเรียนครั้งที่ 1



วันนี้อาจารย์ให้แบ่งกลุ่มนั่งตามโรงเรียนที่ออกสังเกตการสอน พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ที่ได้รับของแต่ละโรงเรียน เช่น เทคนิคการสอน  นวัตกรรมการสอน การจัดประสบการณ์ 

    ส่วนโรงเรียนเกษมพิทยา ที่ดิฉันได้ไปสังเกตการสอนมีแนวทางการสอนภาษาแบบธรรมชาติและProject Approach (การสอนแบบโครงการ

    

การสอนแบบภาษาธรรมชาติ (Whole Language) เป็นแนวการสอนแบบสอนภาษาโดยองค์รวม ทั้งด้านการฟัง พูด อ่าน เขียน ซึ่งเกิดจากหลักการและแนวคิดของนักการศึกษาและนักวิจัยทางภาษา ไม่ว่าจะเป็น ดิวอี้,เปียเจต์,ไวก๊อตสกี้ ฯลฯ ที่ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการจัดประสบการณ์ เพื่อพัฒนาการคิดและภาษาของเด็กปฐมวัยในทางด้านสังคม วัฒนธรรม รวมทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูและเด็กปฐมวัย ตลอดจนการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ตอบสนองธรรมชาติ และเหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กแต่ละวัย เมื่อนำหลักการเหล่านี้มาเป็นแนวคิดในการปรับเปลี่ยนการสอนภาษาจะทำให้เด็กเกิดแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ภาษาได้ดีขึ้น


-แนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติ

คือการที่เด็กเรียนรู้ภาษาได้จากสิ่งแวดล้อมรอบด้านในชีวิตประจำวันและการเลียนแบบ โดยการสอนภาษาธรรมชาติสำหรับเด็กปฐมวัยนั้น จะไม่เน้นให้เด็กต้องท่องตัวอักษรได้ ไม่เน้นการท่องจำเพื่อให้อ่านออกเขียนได้เหมือนการเรียนการสอนทั่วไป แต่จะพัฒนาทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียนไปพร้อม ๆ กัน เช่น


1. ทักษะการฟัง

เด็กจะได้ฟังจากการเล่านิทาน ฟังเพลงนิทาน และเพลงต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยพัฒนาทักษะทางการฟังภาษา โดยจะต้องเป็นภาษาที่ถูกต้อง ชัดเจน และเมื่อเด็กฟังแล้วจะได้เชื่อมโยงสิ่งที่อยู่รอบตัวเข้ากับคำที่ได้ยิน เช่น ใช้ช้อนตักอาหารรับประทาน เด็กก็จะเชื่อมโยงคำว่าช้อนเข้ากับการใช้ช้อนตักอาหารรับประทาน เป็นต้น


การเล่านิทาน การสอนภาษาแบบธรรมชาติที่ช่วยพัฒนา ทักษะการฟัง เด็ก

สอนภาษาแบบธรรมชาติผ่านการเล่านิทาน

2. ทักษะการพูด การอ่าน

ผู้ปกครองหรือครูจะใช้คำถามเพื่อให้เด็กตอบและกล้าแสดงความคิดออกมาเป็นคำพูด อาจใช้การแสดงบทบาทสมมติกับเด็ก ๆ สลับกับการเล่านิทาน เพื่อเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้เปิดหนังสือดูภาพและเล่าเรื่องจากภาพเอง ซึ่งสิ่งที่เด็กเล่าออกมา อาจมาจากจินตนาการของตัวเด็กเอง เนื้อเรื่องอาจไม่ได้ตรงตามหนังสือ แต่จะเน้นให้เด็กได้เห็นภาพและเชื่อมโยงออกมาเป็นคำพูด เพราะการอ่านและการพูดนั้นไม่มีถูกหรือผิด แต่ผู้ปกครองและคุณครูผู้ดูแลจะต้องคอยสนับสนุนให้เด็กกล้าใช้ภาษา และหากคำไหนพูดไม่ชัด ผิดเพี้ยน ผู้ปกครองและคุณครูก็จะช่วยแนะนำให้เด็กพูดตามได้ชัดเจนแบบค่อยเป็นค่อยไป


เด็กเล่านิทานผ่านจินตนาการของตัวเองช่วยพัฒนาทักษะการพูด การอ่าน

ให้เด็กเล่านิทานผ่านจินตนาการของตัวเอง

3. ทักษะการเขียน

เด็กจะได้วาดภาพตามจินตนาการหรือปฏิบัติตามคำสั่ง อาจทำเป็นงานเดี่ยวหรือทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม เช่น การช่วยกันวาดภาพแต่งนิทานและเขียนเล่าเรื่องลงในภาพ อาจจะมีการสะกดคำง่าย ๆ ซึ่งไม่ใช่การท่องจำแต่จะเป็น การสอนในรูปประโยคที่ทำให้เด็กเชื่อมโยงไปสู่การฟัง การพูด และการอ่าน เช่น สอนคำว่า ข้าว จะไม่สอนแค่ ขอ สระอา วอ ขาว ไม้โท ข้าว แต่จะสอนว่าข้าวหมายถึงอะไร และยกตัวอย่างประโยคให้เด็กเข้าใจ เช่น ข้าวคือเมล็ดสีขาวเล็ก ๆ เป็นอาหารที่เด็ก ๆ รับประทานและมีประโยชน์ เพื่อเชื่อมโยงไปสู่คำอื่น รวมถึงทำให้เด็กสร้างประโยคขึ้นเองได้ และจะค่อย ๆ เรียนรู้ความหมายและพัฒนาไปอย่างต่อเนื่องได้เองในที่สุด


พัฒนาทักษะการเขียนเด็ก ผ่านการสอนแบบธรรมชาติ

วาดภาพตามจินตนาการ

-แนวทางการสอนภาษาแบบธรรมชาติภายในโรงเรียน

โรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนภาษาธรรมชาตินั้น โดยส่วนมากจะจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศให้เด็กได้คุ้นเคยกับการใช้ภาษา โดยไม่บังคับหรือสอนให้ท่องจำ แต่จะส่งเสริมให้เด็กกล้าใช้ภาษาได้ด้วยตัวเอง ซึ่งภายในชั้นเรียนจะจัดให้มีมุมที่มีการส่งเสริมเรื่องภาษาอย่างชัดเจน เช่น มุมอ่าน มุมบทบาทสมมติ มุมบล็อก มุมวิทยาศาสตร์ ฯลฯ ในทุก ๆ มุมจะติดป้ายหรือสัญลักษณ์ มีทั้งภาพและตัวอักษรที่มีความหมายในการสื่อสารกับเด็ก ในการเรียนรู้เด็ก ๆ จะมีโอกาสและมีเวลาในการตัดสินใจที่จะเลือกกิจกรรมที่อยากปฏิบัติด้วยตัวเด็กเอง เพราะคุณครูจะเป็นผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยในการเรียนรู้ให้กับเด็ก เช่น การจัดเตรียมมุมต่าง ๆ ให้เด็กได้เรียนรู้และฝึกภาษาอย่างรอบด้าน


ในมุมศิลปะครูก็จะจัดเตรียมอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับศิลปะวางไว้ที่มุม แต่ในมุมนั้นจะมีป้ายหรือสัญลักษณ์ที่ส่งเสริมในการฝึกใช้ภาษา ตัวอย่างเช่น ที่มุมจะมีป้ายคำว่า มุมศิลปะ = Art บนโต๊ะมีอุปกรณ์ศิลปะ เช่น ตะกร้าใส่ดินสอ ก็จะติดป้ายที่ข้างตะกร้าจะมีคำว่า Basket = ตะกร้า, Pencil = ดินสอ, Colors Crayon = สีเทียน, Paintbrush =พู่กัน, Table = โต๊ะ เป็นต้น การติดป้ายคำศัพท์ตามมุมต่าง ๆ จะยิ่งช่วยสนับสนุนการใช้ภาษา เพราะเด็กจะเกิดความคุ้นเคยกับตัวหนังสือและได้รับประสบการณ์ทางภาษาที่มีอยู่จริง


Project Approach คือ...

Project Approach (การสอนแบบโครงการ) เป็นการเรียนที่มุ่งเน้นให้เด็กมีส่วนร่วมและกระตุ้นให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง พร้อมเปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้ในสิ่งที่เด็กสนใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัวเด็ก และตอบสนองตามความต้องการที่หลากหลายของเด็ก ๆ โดยเป็นกิจกรรมเชิงปฏิบัติที่เน้นให้เด็กลงมือทำได้ด้วยตัวเอง การสอนแบบโครงการนี้ถือเป็นเครื่องมือการสอนที่ดีอย่างยิ่งสำหรับคุณครู เพราะจะแสดงให้เห็นถึงสิ่งต่าง ๆ ตั้งแต่แนวคิดในเรื่องแห่งความเป็นจริง การตั้งคำถามจากความสนใจที่แท้จริง และการค้นหาคำตอบในเชิงลึกของเด็กในหัวข้อหรือเรื่องที่เด็กสนใจ แล้วยังส่งเสริมทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ผ่านการสำรวจ การสืบค้น การจดบันทึก และการคิดวิเคราะห์ เพื่อให้ได้ข้อมูลและความรู้ต่าง ๆ ตามเรื่องที่เด็กสนใจ ผ่านประสบการณ์ตรงที่หลากหลาย ตลอดจนการใช้ความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะที่สรุปออกมาเป็นชิ้นงาน


คุณครูและเด็ก ๆ พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน

คุณครูและเด็ก ๆ พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกัน

การจัดการเรียนการสอนแบบโครงการ (Project Approach) ผู้สอนสามารถจัดเป็นนิทรรศการที่เป็นการสรุปความคิดรวบยอดของเด็ก ๆ ที่จะนำมาเผยแพร่ให้ผู้อื่นได้รู้ถึงวิธีการทำงานที่เป็นกระบวนการตามขั้นตอน นอกจากการเรียนรู้แล้ว Project Approach ยังเป็นการสอนเชิงลึกเกี่ยวกับหัวข้อในความเป็นจริงที่เด็ก ๆ มีความสนใจและพยายามสืบค้นด้วยตัวเอง ทั้งยังช่วยให้เด็กมีส่วนร่วมในสังคมที่เป็นประชาธิปไตยได้เป็นอย่างดี


วิธีการสอนแบบ Project Approach

เป็นวิธีการสอนให้เด็กเลือกเรื่อง หรือหัวข้อของโครงการตามความสนใจของเด็ก ๆ โดยเฉพาะ คุณครูสามารถกำหนดขอบเขตตามพัฒนาการของเด็ก ๆ ผ่านกระบวนการ 3 ระยะ ตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นโครงการ ขั้นพัฒนาโครงการ จนถึงการสรุปโครงการ ซึ่งจะช่วยให้คุณครูสามารถจัดระเบียบ ดูความก้าวหน้าของกิจกรรมตามการพัฒนาความสนใจของเด็ก และการมีส่วนร่วมกับหัวข้อการเรียนรู้นั้น ๆ


ในระหว่างขั้นตอนการวางแผนเบื้องต้น คุณครูจะเลือกหัวข้อการเรียนรู้ตามความสนใจของเด็กเป็นหลัก และระดมประสบการณ์ความรู้ แนวคิดของตัวเด็ก แล้วนำเสนอเป็นหัวข้อใน Mind Map จากนั้นแตกออกมาเป็นหัวข้อย่อย เพื่อที่จะถูกเพิ่มในหัวข้อของ Mind Map และใช้สำหรับบันทึกความก้าวหน้าของโครงการอีกด้วย


เด็ก ๆ ตื่นเต้น ดีใจที่ได้เรียนรู้ข้าวโพดจากของจริง

เด็ก ๆ ตื่นเต้น ดีใจที่ได้เรียนรู้ข้าวโพดจากของจริง

การกำหนดหัวข้อโครงการ

หัวข้อการเรียนรู้สามารถกำหนดได้จากเรื่องราวต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของตัวเด็กเอง เพราะทุก ๆ คำถามที่เด็กถาม มักเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เด็กพบเห็นได้จากประสบการณ์ตรงในชีวิตประจำวัน และในคำถามที่เด็กถาม คุณครูจะเป็นเพียงผู้ชี้แนะและจะไม่ให้คำตอบทันทีกับคำถามที่เด็กถาม แต่คุณครูจะให้เด็กค้นหาคำตอบด้วยตัวเอง ผ่านการสืบค้นจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ ตัวอย่าง เช่น โครงการไปรษณีย์ เด็ก ๆ มีข้อสงสัยว่า ไปรษณีย์ คืออะไร... แล้วมีไว้ทำอะไร... คุณครูก็จะเป็นผู้แนะนำหรือชี้แนะ โดยใช้การระดมความคิดจากเด็ก ๆ ถึงความเป็นไปได้ในหัวเรื่องนั้น ๆ เด็กบางคนที่มีความรู้หรือมีประสบการณ์ตรง อาจจะแบ่งปันความรู้ให้เพื่อน ๆ ฟัง และให้เด็ก ๆ ไปหาข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอินเทอร์เน็ต แผ่นพับ นิตยสาร และผู้ปกครองที่บ้าน เมื่อได้ข้อมูลมาแล้ว เด็ก ๆ ก็จะนำข้อมูลที่ได้มาสนทนาพูดคุยแลกเปลี่ยนกันทีละหัวข้อ เพื่อที่จะตรวจสอบให้แน่ใจว่าเด็ก ๆ มีความเข้าใจในหัวข้อที่กำลังแลกเปลี่ยนกันหรือไม่ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้การสอนแบบโครงการใช้เวลาในการสอนค่อนข้างนาน หลายสัปดาห์กว่าจะเสร็จสมบูรณ์ หรือในบางหัวข้อก็อาจใช้เวลาเป็นเทอม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสนใจของเด็ก ๆ ด้วยค่ะ


การสอน 3 ระยะของ Project Approach

การเรียนรู้แบบ Project Approach แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ


ระยะที่ 1 : การเริ่มต้นโครงการ

คุณครูร่วมกันอภิปรายหัวข้อกับเด็ก ๆ เพื่อค้นหาประสบการณ์ที่เด็กมี สิ่งที่เด็กรู้แล้ว และสิ่งที่เด็กอยากรู้ เด็ก ๆ จะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ และแสดงความเข้าใจแนวคิดที่เกี่ยวข้อง จากการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน คุณครูจะใช้คำถามถาม เพื่อกระตุ้นให้เด็กตอบคำถาม และทำจดหมายเกี่ยวกับหัวเรื่องการเรียนรู้ของโครงการส่งกับบ้านถึงผู้ปกครอง เพื่อสนับสนุนให้ผู้ปกครองได้พูดคุยกับลูกเกี่ยวกับหัวข้อนั้น ๆ และแบ่งปันความรู้ให้กับเด็ก ๆ เพื่อเด็กจะได้นำความรู้ใหม่ ๆ ที่ได้รับมาพูดคุยแลกเปลี่ยนกับเพื่อน ๆ ในห้องต่อไป


ระยะที่ 2 : การพัฒนาโครงการ

ขั้นตอนนี้จะเป็นการจัดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้ทำงานภาคสนามและพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่เด็กสนใจเรียนรู้ โดยคุณครูจะเป็นผู้จัดหาทรัพยาการต่าง ๆ เช่น หนังสือ เอกสารงานวิจัย พร้อมทั้งแนะนำวิธีการตรวจสอบที่หลากหลายให้กับเด็ก เพื่อช่วยเด็กในการสืบค้นและรวบรวมข้อมูลด้วยวัตถุจริง เปิดโอกาสให้เด็กแต่ละคนมีส่วนร่วมในการเป็นตัวแทนของสิ่งที่เค้ากำลังสืบค้น และช่วยให้เด็กสามารถทำงานตามความสามารถของตัวเองได้ เช่น บางคนมีทักษะพื้นฐานด้านงานประดิษฐ์ การวาดภาพ การนำเสนอ และการเล่นละคร โดยคุณครูช่วยสนับสนุนให้เด็กได้ทำงานตามความถนัดของแต่ละคนผ่านการอภิปรายในห้องเรียน ซึ่งหัวข้อของ Mind Map ที่ออกแบบไว้ก่อนหน้า จะให้ข้อมูลย่อเกี่ยวกับความคืบหน้าของโครงการด้วยค่ะ


เด็ก ๆ เรียนรู้และลงมือการดำนาด้วยตนเอง

เด็ก ๆ เรียนรู้เรื่องข้าวและลงมือดำนาด้วยตนเองอย่างสนุกสนาน

ระยะที่ 3 : การสรุปโครงการ

เด็กและคุณครูร่วมกันจัดนิทรรศการ โดยให้เด็กแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้เกี่ยวกับหัวข้อ Project Approach ให้เด็ก ๆ ช่วยกันอภิปรายถึงหลักฐานที่สืบค้น เปรียบเทียบการตั้งสมมุติฐานว่าตรงกันหรือไม่ เล่าเรื่องโครงการของพวกเขาให้ผู้อื่นฟัง โดยเน้นจุดเด่นของโครงการ คุณครูและผู้ปกครองช่วยเด็ก ๆ วางแผนการดำเนินการ พร้อมเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งที่เด็ก ๆ ทำและค้นพบ อย่างเต็มความสามารถ ความสนุกสนาน ความกระตือรือร้นและความภูมิใจในตัวเด็กผ่านผลงานต่าง ๆ ทั้งนี้ครูควรบันทึกความคิดและความสนใจของเด็กในระหว่างการทำโครงการ เพื่อเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงทางความสนใจ ความรู้ และความคิดของเด็ก ๆ ว่าก่อนเริ่มโครงการและหลังจากสรุปโครงการมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร และเพื่อเป็นแนวทางในการหาหัวข้อของโครงการในครั้งต่อไป


โครงการ Project Approach เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง

โครงการ Project Approach เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง

จากที่กล่าวมาการสอนแบบ Project Approach หรือการสอนแบบโครงการ คือ กิจกรรมที่เน้นกระบวนการการลงมือปฏิบัติ และการใช้กระบวนการคิดที่เกิดจากการศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จากความสนใจของตัวเด็กเอง ที่เด็ก ๆ ให้ความสนใจเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ อย่างลึกซึ้งในรายละเอียดของหัวเรื่องที่เด็กเลือก อย่างมีความสุข สนุกสนาน และยังส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองและรู้จักทำงานอย่างมีแบบแผน นอกจากนั้นยังสร้างสัมพันธ์ที่ดีระหว่างโรงเรียน ชุมชน และผู้ปกครอง เนื่องจากการสอนแบบโครงการผู้ปกครองและชุมชน จะมีส่วนสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็ก ๆ ได้เป็นอย่างมาก


    จากนั้นก็ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนการทำกิจกรรมในตอนเช้าของแต่ละโรงเรียน แต่ละโรงเรียนก็จะมีรูปแบบการจัดกิจกรรมที่แตกต่างกันออกไป ทั้งช่วงเวลาและกิจกรรม อาจารย์ก็ได้ให้คำแนะนำในการออกแบบกิจกรรมว่าควรมีกิจกรรม โฮมรูม ให้เด็กได้พูดคุยเพื่อพัฒนาทักษะด้านการพูด แล้วจึงนำสู่ 6 กิจกรรมหลัก


 6 กิจกรรมหลัก  ประกอบด้วย

 1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ

 2. กินกรรมเสริมประสบการณ์

 3. กิจกรรมเสรี

 4. กิจกรรมสร้างสรรค์

 5. กิจกรรมกลางแจ้ง

 6. กิจกรรมเกมการศึกษา


จากนั้นอาจารย์ก็ได้แนะนำเพลงที่ใช้เก็บเด็กของ ศาสตราจารย์ อำไพ สุจริตกุล เพื่อเป็นแนวทางที่จะนำไปใช้เมื่อเราไปอยู่โรงเรียน


เพลง มือกุมกัน 



มือกุมกันแล้วก็ยืนตรงๆ (ซ้ำ) 


ยืนหนอ ยืนหนอ ยืนหนอ ยืนตรง


เพลง นั่งสมาธิ 



นั่งขัดสมาธิให้ดี        สองมือวางทับกันทันที


 หลับตาตั้งตัวตรงสิ        ตั้งสติให้ดี


ภาวนาในใจ       พุทโธ พุทโธ พุทโธ


เมื่อได้เพลงแล้วอาจารย์ก็ให้จัดกลุ่มตามโรงเรียนที่ไปสังเกตการสอน แจกกระดาษกับสี ทำมายแม็บ "กิจกกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ" 





 "กิจกกรมเคลื่อนไหวและจังหวะ" ของกลุ่มดิฉัน



กิจกรรมพื้นฐาน

1. การเคลื่อนไหวอยู่กับที่ เช่น การก้มตัว การบิดตัว การหมุนตัว การเอียง การดัน การดึง

2. การเคลื่อนไหวเคลื่อนที่ การเดิน การวิ่ง กระโดเขย่ง กระโดด กระโจน กระโดดสลับเท้า


กิจกรรมสัมพันธ์เนื้อหา

1. เคลื่อนไหวตามข้อตกลง

2. เคลื่อนไหวผู้นำผู้ตาม 

3. เคลื่อนไหวตามอุปกรณ์

4. เคลื่อนไหวประกอบเพลง

5. เคลื่อนไหวบรรยาย

6. เคลื่อนไหวตามจิตตนาการ

7. เคลื่อนไหวแบบเลียนแบบ


วัตถุประสงค์ 

1. พัฒนาอวัยวะทุกส่วนของร่างกายให้ได้เคลื่อนไหวอย่างสัมพันธ์กัน

2. ให้เด็กได้ผ่อนคลายความตึงเครียด

3. สนองความต้องการตามธรรมชาติมีความสนใจและความพอใจของเด็ก

4.  พัฒนาทักษะทางด้านสังคมการปรับตัวและความร่วมมือในกลุ่ม

5. ฝึกการเป็นผู้นำผู้ตามที่ดี


เมื่อทำครบทุกกลุ่มแล้วอาจารย์ก็ให้นำไปติดหน้าชั้นเรียน



"การประเมิน"  


ประเมินตนเอง :  ช่วยเหลือสมาชิกในกลุ่มทำงาน ร่วมกันแสดงความคิดเห็น


ประเมินเพื่อน : เพื่อนให้ความร่วมมือดี มาเรียนตรงเวลา ช่วยกันตอบคำถามได้อย่างดี


ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มีคำแนะนำและข้อคิดเห็นให้นักศึกษาได้คิดตาม 





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Name : Chalita Phoophanab Nickname : Praew Identification number : 6011201644 Bechelor's degree : Early Childhood, Faculty of Education,...